คำสั่ง : งานห้องเรียน สื่อคอมพิวเตอร์เรียนรู้สู่สุนทรียภาพ (เอาไปเลย 5 คะแนน) กลุ่มเดิมนะโครงงานให้ถ่ายภาพ(ไม่ต่ำกว่า 10 ภาพ, มีภาพตนเองคู่ต้นชมพูฯ ภาพเฉพาะต้น ภาพวิวโดยรวม และบรรยายใน Blog ด้วย) และวิดีโอ (1 คลิปลง youtube บรรยายเสียงประกอบ ไม่เกิน 5 นาที) ส่ง Link Blogเดี่ยว+ชื่อสกุล+รหัสที่นี่ Comment
สื่อคอมพิวเตอร์เรียนรู้สู่สุนทรียภาพ (ชมพูพันทิพย์)
ชื่อสามัญ Pink Tecoma
ชื่อวิทยาศาสตร์ Tabebuia rosea (Bertol.) DC.
วงศ์ BIGNONIACEAE
ชื่ออื่นๆ ชมพูพันธุ์ทิพย์ ชมพูอินเดีย ธรรมบูชา (กรุงเทพ ฯ)ตาเบบูย่า
ลักษณะทั่วไป
เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดกลาง สูงราว ๘-๑๒ เมตร ใบเป็นแบบผสม มีใบย่อย ๕ ใบบนต้นเดียวกัน แผ่ออกคล้ายใบปาล์ม ผิวไม่เรียบ ปลายใบแหลม ยาวประมาณ ๑๒ เซนติเมตร กิ่งก้านสาขาแผ่ออกเป็นพุ่มค่อนข้างแน่น ชมพูพันธุ์ทิพย์ ใบแก่และทิ้งใบในฤดูหนาว ช่วงเดือนพฤศจิกายน-มกราคม หลังจากนั้นจะออกดอกช่วงเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน ดอกออกเป็นช่อตามกิ่งก้าน ช่อละ ๕-๘ ดอก ดอกย่อยลักษณะคล้ายดอกผักบุ้งหรือปากแตร คือโคนดอกเป็นหลอดยาวปลายดอกบานออกเป็น ๕ กลีบ กลีบดอกบาง ย่นเป็นจีบๆ และร่วงหล่นง่าย จะเห็นดอกชมพูพันธุ์ทิพย์ร่วงหล่นกระจายอยู่รอบๆ ต้น งดงามพอๆ กับที่บานอยู่บนต้น ดอกย่อยแต่ละดอกกว้างราว ๘ เซนติเมตร ยาวราว ๑๕ เซนติเมตร สีของกลีบดอกปกติเป็นสีชมพูสดใส แต่มีความเข้มและจางแตกต่างกันไป โดยเฉพาะต้นที่เกิดจากเมล็ดจะมีความผันแปรมากมาย ตั้งแต่สีชมพูจางเกือบขาวไปจนถึงสีเข้มเกือบเป็นสีม่วงแดง เมื่อดอกชมพูพันธุ์ทิพย์ร่วงหล่นแล้ว จะติดฝักรูปร่างคล้ายมวนบุหรี่ ยาวราว ๑๕ เซนติเมตร เมื่อฝักแก่ราวเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม จะแตกออกด้านเดียวตามยาว แล้วเมล็ดที่มีปีกก็ปลิวไปตามลมได้ไกลๆ
ต้นกำเนิดของชมพูพันธุ์ทิพย์ อยู่ในเขตร้อนของทวีปอเมริกาใต้ ต่อมาได้ถูกนำไปปลูกในเขตร้อนทวีปต่างๆ อย่างแพร่หลายรวมทั้งประเทศไทย
สำหรับประเทศไทยมีบันทึกเป็นหลักฐานว่า เป็นผู้นำเข้ามาในประเทศครั้งแรกคือ กรมหมื่นนครสวรรค์ศักดิ์พินิต และ ม.ร.ว.พันธุ์ทิพย์ บริพัตร จึงตั้งชื่อตามสีดอก และเป็นเกียรติแก่ผู้นำเข้าว่า ชมพูพันธุ์ทิพย์ ชื่อเดิมคือ ตาเบบูย่า มีชื่ออื่นๆ คือ แตรชมพู ธรรมบูชา ชื่อในภาษาอังกฤษคือ Pink Trumpet Tree ตามลักษณ์ของดอกนั่นเอง
การขยายพันธ์
การเพาะเมล็ดหรือการตอนกิ่ง
ประโยชน์
ใบต้มแก้เจ็บท้องหรือท้องเสียตำให้ละเอียดใส่แผล ลำต้น ใช้ทำฟืน และเยื่อใช้ทำกระดาษได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น