M-learning
ความหมายของ เอ็มเลิร์นนิ่ง
การให้คำจำกัดความของ เอ็มเลิร์นนิ่ง
นั้นน่าจะแยกพิจารณาเป็น 2 ส่วน จากรากศัพท์ที่นำมาประกอบกัน ก็คือ
1.
Mobile (Devices) หมายถือ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ หรือ
โทรศัพท์มือถือ และเครื่องเล่น หรือแสดงภาพที่พกพาติดตัวไปได้
ดังที่จะได้ยกตัวอย่างต่อไป
2.
Learning หมาย ถึงการเรียนรู้ เป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอันเนื่องมาจากบุคคลปะทะกับสิ่งแวดล้อมจึงเกิด
ประสบการณ์ การเรียนรู้เกิดขึ้นได้เมื่อมีการแสวงหาความรู้ การพัฒนาความรู้ความสามารถของบุคคลให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น
รวมไปถึงกระบวนการสร้างความเข้าใจ และถ่ายทอดประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์ต่อบุคคล
เมื่อพิจารณาจากความหมายของคำทั้งสองแล้วจะพบว่า
Learning นั่นคือแก่นของเอ็มเลิร์นนิ่ง เพราะเป็นการใช้เทคโนโลยีเครือข่ายไร้สายเพื่อให้เกิดการเรียนรู้
ซึ่งก็คล้ายกับ อีเลิร์นนิ่งยุคศตวรรษที่ 21 ที่เป็นการใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อให้เกิดการเรียนรู้
นอกจากนี้มีผู้ใช้คำนิยามของเอ็มเลิร์นนิ่ง ดังต่อไปนี้
ริว (Ryu, 2007) หัวหน้าศูนย์โมบายคอมพิวติ้ง (Centre for Mobile Computing) ที่มหาวิทยาลัยแมสซี่ เมืองโอ๊คแลนด์ ประเทศนิวซีแลนด์ ระบุว่าเอ็มเลิร์นนิ่งคือกิจกรรมการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นเมื่อผู้เรียนอยู่
ระหว่างการเดินทาง ณ ที่ใดก็ตาม และเมื่อใดก็ตาม
เก็ดส์ (Geddes, 2006)
ก็ให้ความหมายที่คล้ายคลึงกันคือ เอ็มเลิร์นนิ่งคือการได้มาซึ่งความรู้และทักษะผ่านทางเทคโนโลยีของเครื่อง
ประเภทพกพา ณ ที่ใดก็ตาม และเมื่อใดก็ตาม ซึ่งส่งผลเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
วัต สัน
และไวท์ (Watson & White, 2006) ผู้เขียนรายงานเรื่องเอ็มเลิร์นนิ่งในการศึกษา
(mLearning in Education) เน้นว่าเอ็มเลิร์นนิ่งหมายถึงการรวมกันของ
2 P คือ เป็นการเรียนจาก เครื่องส่วนตัว (Personal) และเป็นการเรียนจากเครื่องที่พกพาได้ (Portable) การที่เรียนแบบส่วนตัวนั้นผู้เรียนสามารถเลือกเรียนในหัวข้อที่ต้องการ
และการที่เรียนจากเครื่องที่พกพาได้นั้นก่อให้เกิดโอกาสของการเรียนรู้ได้ ซึ่งเครื่องแบบ
Personal Digital Assistant (PDA) และโทรศัพท์มือถือนั้นเป็นเครื่องที่ใช้สำหรับเอ็มเลิร์นนิ่งมากที่สุด
ดังนั้นจึงน่าจะให้คำจำกัดความที่กระชับของเอ็มเลิร์นนิ่ง
ณ ที่นี้ได้ว่า
เอ็มเลิร์นนิ่ง
คือ การเรียนรู้โดยใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์แบบพกพาที่เชื่อมต่อกับข้อมูลแบบไร้สาย ซึ่งคอมพิวเตอร์แบบพกพานี้ในปัจจุบันมีอยู่มากมาย
และมีหลายบริษัทที่ผลิตอุปกรณ์ออกมาใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งสามารถจัดเป็นประเภทของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์แบบพกพาได้
3 กลุ่มใหญ่ หรือจะเรียกว่า 3Ps
1.
PDAs (Personal Digital Assistant) คือคอมพิวเตอร์แบบพกพาขนาดเล็กหรือขนาดประมาณฝ่ามือ
ที่รู้จักกันทั่วไปได้แก่ Pocket PC กับ Palm เครื่องมือสื่อสารในกลุ่มนี้ยังรวมถึง PDA Phone ซึ่งเป็นเครื่อง
PDA ที่มีโทรศัพท์ในตัว สามารถใช้งานการควบคุมด้วย Stylus
เหมือนกับ PDA ทุกประการ
นอกจากนี้ยังหมายรวมถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กอื่นๆ เช่น lap top, Note
book และ Tablet PC อีกด้วย
2.
Smart Phones คือโทรศัพท์มือถือ ที่บรรจุเอาหน้าที่ของ PDA
เข้าไปด้วยเพียงแต่ไม่มี Stylus แต่สามารถลงโปรแกรมเพิ่มเติมเหมือนกับ
PDA และ PDA phone ได้ ข้อดีของอุปกรณ์กลุ่มนี้คือมีขนาดเล็กพกพาสะดวกประหยัดไฟ
และราคาไม่แพงมากนัก คำว่าโทรศัพท์มือถือ ตรงกับภาษาอังกฤษ ว่า hand phone ซึ่งใช้คำนี้แพร่หลายใน Asia Pacific ส่วนในอเมริกา
นิยมเรียกว่า Cell Phone ซึ่งย่อมาจาก Cellular
telephone ส่วนประเทศอื่นๆ นิยมเรียกว่า Mobile Phone
3.
iPod, เครื่องเล่น MP3 จากค่ายอื่นๆ
และเครื่องที่มีลักษณะการทำงานที่คล้ายกัน คือ เครื่องเสียงแบบพกพก iPod คือชื่อรุ่นของสินค้าหมวดหนึ่งของบริษัท Apple Computer, Inc ผู้ผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์แมคอินทอช iPod และเครื่องเล่น
MP3 นับเป็นเครื่องเสียงแบบพกพาที่สามารถรับข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ด้วยการต่อสาย
USB หรือ รับด้วยสัญญาณ Blue tooth สำหรับรุ่นใหม่ๆ
มีฮาร์ดดิสก์จุได้ถึง 60 GB. และมีช่อง Video out และมีเกมส์ให้เลือกเล่นได้อีกด้วย
เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ดีขึ้นต่อเอ็มเลิร์นนิ่ง
จึงขอเสนอแบบจำลองการเรียนรู้ของเอ็มเลิร์นนิ่งได้รูปที่ 1 ต่อไปนี้
รูปที่ 1 กระบวนการเรียนรู้ของเอ็มเลิร์นนิ่ง
จาก แบบจำลองกระบวนการเรียนรู้ของเอ็มเลิร์นนิ่งในรูปที่
1 นั้นแสดงให้เห็นกระบวนการเรียนรู้ของเอ็มเลิร์นนิ่งซึ่งประกอบด้วย
5 ขั้นตอน คือ
- ขั้นที่ 1 ผู้เรียนมีความพร้อม และเครื่องมือ
- ขั้นที่ 2 เชื่อมต่อเข้าสู่เครือข่าย และพบเนื้อหาการเรียนที่ต้องการ
- ขั้นที่ 3 หากพบเนื้อหาจะไปยังขั้นที่ 4 แต่ถ้าไม่พบจะกลับเข้าสู่ขั้นที่ 2
- ขั้นที่ 4 ดำเนินการเรียนรู้ ซึ่งไม่จำเป็นที่จะต้องอยู่ในเครือข่าย
- ขั้นที่ 5 ได้ผลการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์
จากคำอธิบายดังกล่าวข้างต้นจะเห็นได้ว่า
เอ็มเลิร์นนิ่งนั้นเกิดขึ้นได้โดยไร้ข้อจำกัด ด้านเวลา และสถานที่ ที่สำคัญขอเพียงแต่ผู้เรียนมีความพร้อมและเครื่องมือ
อีกทั้งเครือข่ายมีเนื้อหาที่ต้องการ จึงจะเกิดการเรียนรู้ขึ้น แล้วจะได้ผลการเรียนรู้ที่ปรารถนา
หากขาดเนื้อหาในการเรียนรู้ กระบวนการดังกล่าวจะกลายเป็นเพียงการสื่อสาร กับเครือข่ายไร้สายนั่นเอง
จึงอาจจะเป็นพันธกิจใหม่ของนักการศึกษา นักวิชาการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่เกี่ยวข้องในด้านการผลิตบทเรียนสำหรับเอ็มเลิร์
นนิ่งที่ควรจะเร่งดำเนินการออกแบบ พัฒนา ผลิต และกระจายสื่อที่มีประสิทธิภาพสำหรับการเรียนด้วยเอ็มเลิร์นนิ่ง
M-E-D –learning
M-E-D –learning
ใน ทางปฏิบัติแล้ว
เอ็มเลิร์นนิ่งเป็นอีเลิร์นนิ่งที่ผู้เรียนใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์แบบพกพา เพื่อเข้าถึงบทเรียน
และเพิ่มพูนความรู้ให้กับตนเองได้ นอกจากนี้ตามหลักการแล้วอีเลิร์นนิ่งเป็นส่วนหนึ่งของ
ดีเลิร์นนิ่ง (dLearning) หรือคำเต็ม Distance Learning ซึ่งหมายถึงการเรียนทางไกลนั้นเอง ดังนั้นเพื่อให้เห็นความสัมพันธ์ของ การเรียนรู้ทั้ง
3 รูปแบบ ได้แก่ เอ็มเลิร์นนิ่ง, อีเลิร์นนิ่ง
และ ดี เลิร์นนิ่ง (M-E-D-learning) และรูปแบบการศึกษาในปัจจุบัน
ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 15
ที่ว่าการจัดการศึกษานั้นมี 3 รูปแบบ คือ
การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และ การศึกษาตามอัธยาศัย
ดังมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1.
การศึกษาในระบบ
(Formal Education) เป็นการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย
วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน
เช่น การศึกษาในโรงเรียน และมหาวิทยาลัยในห้องเรียนแบบปกติ
2.
การศึกษานอกระบบ (Non - Formal Education) เป็นการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย
รูปแบบ วิธีการจัดการศึกษา ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญของการสำเร็จการศึกษา
โดยเนื้อหาและหลักสูตรจะต้องมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้อง การของบุคคลแต่ละกลุ่ม
3.
การศึกษาตามอัธยาศัย
(Informal Education) เป็น การศึกษาที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจ
ศักยภาพ ความพร้อม และโอกาส โดยศึกษาจากบุคคล ประสบการณ์ สังคม สภาพแวดล้อม สื่อ หรือแหล่งความรู้อื่น
ๆ
ทั้ง นี้สถานศึกษาอาจจัดการศึกษาในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งหรือทั้งสามรูปแบบก็ได้
ความสัมพันธ์ของรูปแบบการเรียนรู้ทั้ง 3 รูปแบบ (M-E-D-learning) และการจัดการศึกษา 3
รูปแบบสามารถแสดงไว้ในรูปที่ 2
จาก รูปที่ 2 ความสัมพันธ์ของรูปแบบการเรียนรู้ และการจัดการศึกษาแสดงให้เห็นได้กว่า การจัดการศึกษานั้นมีส่วนที่เลื่อมกันอยู่เนื่องจากบุคคลที่มีความประสงค์จะ
ทำการศึกษานั้นอาจจะใช้บริการของการจัดการศึกษาทั้ง 3 แบบพร้อมกันได้
ทางด้านการศึกษาทางไกลนั้นก็เป็นระบบการศึกษาที่สามารถเกิดขึ้นได้ในแต่ละ ประเภทของการจัดการศึกษาเช่นกัน
ส่วนอีเลิร์นนิ่งนั้นก็เป็นส่วนหนึ่งที่เกิดขึ้นในดีเลิร์นนิ่ง หรือการศึกษาทางไกล
และเอ็มเลิร์นนิ่งก็เป็นส่วนหนึ่งของอีเลิร์นนิ่งนั้นเอง ทั้งนี้เป็นที่น่าสังเกตว่า
ทั้งอีเลิร์นนิ่ง และเอ็มเลิร์นนิ่งนั้นอาจจะนำมาใช้ได้ในการจัดการศึกษาทุกแบบ
ข้อดี-ข้อด้อยของเอ็มเลิร์นนิ่ง
ข้อดี-ข้อด้อยของเอ็มเลิร์นนิ่ง
แม้ เอ็มเลิร์นนิ่งได้เริ่มใช้เป็นครั้งแรกในช่วง
ปี 1995-2000 (Keegan, 2006) เนื่องจากมีปริมาณการพัฒนาอีเลิร์นนิ่ง
ในมหาวิทยาลัยต่างๆ อย่างมากในช่วงดังกล่าว พร้อมกับเป็นช่วงที่เทคโนโลยีไร้สายมีการเติบโตอย่างมาก
และคาดว่าเทคโนโลยีไร้สายเหล่านี้จะมาแทนที่การเชื่อมต่อด้วยสายต่างๆ ในที่สุด นอกจากนี้ยังมีการคาดคะเนอีกว่าผู้คนส่วนมากจะรับสื่อจากคอมพิวเตอร์ไร้สาย
มากกว่าอ่านจากหน้าจอคอมพิวเตอร์แบบเดิมเสียอีก ด้วยศักยภาพของสังคมยุคข้อมูลข่าวสาร
เอ็มเลิร์นนิ่งจึงเป็นประเด็นที่ถูกนำมาอภิปรายในเว็บไซต์อย่างแพร่หลาย เก็ดส์ (Geddes,
2006) ได้ทำการศึกษาประโยชน์ของเอ็มเลิร์นนิ่ง และสรุปว่าประโยชน์ที่ชัดเจนอย่างยิ่งนั้นสามารถจัดได้เป็น
4 หมวด คือ
1.
การเข้าถึงข้อมูล
(Access) ได้ทุกที่ ทุกเวลา
2.
สร้าง สภาพแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้
(Context) เพราะเอ็มเลิร์นนิ่งช่วยให้การเรียนรู้จากสถานที่ใดก็ตามที่มีความต้องการ
เรียนรู้ ยกตัวอย่างเช่น การสื่อสารกับแหล่งข้อมูล และผู้สอนในการเรียนจากสิ่งต่างๆ
เช่น ในพิพิธภัณฑ์ที่ผู้เรียนแต่ละคนมีเครื่องมือสื่อสารติดต่อกับวิทยากรหรือผู้ สอนได้ตลอดเวลา
3.
การร่วมมือ (Collaboration)
ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน และเพื่อนร่วมชั้นเรียนได้ทุกที่ ทุกเวลา
4.
ทำ ให้ผู้เรียนสนใจมากขึ้น
(Appeal) โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่น เช่น นักศึกษาที่ไม่ค่อยสนใจเรียนในห้องเรียน
แต่อยากจะเรียนด้วยตนเองมากขึ้นด้วยเอ็มเลิร์นนิ่ง
ส่วนความคิดเห็น ของนักศึกษาที่วิทยาลัยการอุดมศึกษานิวแมน ที่เมืองเบอร์มิงแฮม ประเทศอังกฤษ (Newman College Higher Education in Birmingham, 2006) ซึ่งสร้างเว็บไซต์ให้ความรู้เกี่ยวกับเอ็มเลิร์นนิ่ง และได้รวบรวมข้อดี-ข้อด้อยของเอ็มเลิร์นนิ่งไว้ ซึ่งสามารถสรุปโดยสังเขปดังต่อไปนี้
ส่วนความคิดเห็น ของนักศึกษาที่วิทยาลัยการอุดมศึกษานิวแมน ที่เมืองเบอร์มิงแฮม ประเทศอังกฤษ (Newman College Higher Education in Birmingham, 2006) ซึ่งสร้างเว็บไซต์ให้ความรู้เกี่ยวกับเอ็มเลิร์นนิ่ง และได้รวบรวมข้อดี-ข้อด้อยของเอ็มเลิร์นนิ่งไว้ ซึ่งสามารถสรุปโดยสังเขปดังต่อไปนี้
ข้อดีของเอ็มเลิร์นนิ่ง
1.
มีความเป็นส่วนตัว
และอิสระที่จะเลือกเรียนรู้ และรับรู้
2.
ไม่มีข้อจำกัดด้านเวลา
สถานที่ เพิ่มความเป็นไปได้ในการเรียนรู้
3.
มีแรงจูงใจต่อการเรียนรู้มากขึ้น
4.
ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ได้จริง
5.
ด้วย เทคโนโลยีของเอ็มเลิร์นนิ่ง
ทำให้เปลี่ยนสภาพการเรียนจากที่ยึดผู้สอนเป็นศูนย์กลาง ไปสู่การมีปฏิสัมพันธ์โดยตรงกับผู้เรียน
จึงเป็นการส่งเสริมให้มีการสื่อสารกับเพื่อนและผู้สอนมากขึ้น
6.
สามารถรับข้อมูลที่ไม่มีการระบุชื่อได้
ซึ่งทำให้ผู้เรียนที่ไม่มั่นใจกล้าแสดงออกมากขึ้น
7.
สามารถ ส่งข้อมูลไปยังผู้สอนได้
อีกทั้งกระจายซอฟต์แวร์ไปยังผู้เรียนทุกคนได้ ทำให้ผู้เรียนทุกคนมีซอฟต์แวร์รุ่นเดียวกันเร็วกว่าการโทรศัพท์
หรืออีเมล
8.
เครื่อง คอมพิวเตอร์แบบพกพา
เครื่อง PDA หรือโทรศัพท์มือถือที่ใช้สำหรับเอ็มเลิร์นนิ่งนั้น ช่วยลดความแตกต่างทางดิจิตัลเนื่องจากราคาเครื่องถูกกว่าคอมพิวเตอร์
9.
สะดวกสบายและมีประสิทธิภาพทั้งในสภาพแวดล้อมทางการเรียนและการทำงาน
10.
เครื่องประเภทพกพาต่างๆ
ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นทางการเรียนและมีความรับผิดชอบต่อการเรียนด้วยตนเอง
11.
นอก จากนี้ผู้เขียนยังอยากจะย้ำว่าความสำเร็จ
และความนิยมของ Mobile Learning ในอนาคตที่จะมีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นั้น
ขึ้นอยู่กับ เทคโนโลยีต่างๆ ที่ให้การสนับสนุนด้วย ยกตัวอย่างเช่น การมี Browser
ที่เหมาะสมกับ Mobile Device ดังที่ค่าย Nokia
ได้ออก S60 ซึ่งเป็น Browser ที่ย่อขนาดของเว็บไซต์ปกติ (Scaling down the page) ให้แสดงผลได้อย่างดีบนหน้าจอเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดพกพาได้
ส่วน Browser ตระกูล Opera จากประเทศนอร์เวย์นั้นก็มี
Small Screen Rendering ซึ่งช่วยจัดเอกสารบนหน้าเว็บให้เหมาะกับขนาดของจอบนเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาด
พกพาอีกเช่นกัน (Greene, 2006)
ข้อด้อยของเอ็มเลิร์นนิ่ง
1.
ขนาด ของความจุ
Memory และขนาดหน้าจอที่จำกัดอาจจะเป็นอุปสรรคสำหรับการอ่านข้อมูล
แป้นกดตัวอักษรไม่สะดวกรวดเร็วเท่ากับคีย์บอร์ดคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ อีกทั้งเครื่องยังขาดมาตรฐาน
ที่ต้องคำนึงถึงเมื่อออกแบบสื่อ เช่น ขนาดหน้าจอ แบบของหน้าจอ
ที่บางรุ่นเป็นแนวตั้ง บางรุ่นเป็นแนวนอน
2.
การเชื่อมต่อกับเครือข่าย
ยังมีราคาที่ค่อนข้างแพง และคุณภาพอาจจะยังไม่น่าพอใจนัก
3.
ซอฟต์แวร์ที่มีอยู่ในท้องตลาดทั่วไป
ไม่สามารถใช้ได้กับเครื่องโทรศัพท์แบบพกพาได้
4.
ราคาเครื่องใหม่รุ่นที่ดี
ยังแพงอยู่ อีกทั้งอาจจะถูกขโมยได้ง่าย
5.
ความแข็งแรงของเครื่องยังเทียบไม่ได้กับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ
6.
อัพเกรดยาก
และเครื่องบางรุ่นก็มีศักยภาพจำกัด
7.
การพัฒนาด้านเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง
ส่งผลให้ขาดมาตรฐานของการผลิตสื่อเพื่อเอ็มเลิร์นนิ่ง
8.
ตลาดของเครื่องโทรศัพท์มือถือมีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว
พอพอกับเครื่องที่สามารถตกรุ่นอย่างรวดเร็ว
9.
เมื่อมีผู้ใช้เครือข่ายไร้สายมากขึ้น
ทำให้การรับส่งสัญญาณช้าลง
10.
ยังไม่มีมาตรฐานความปลอดภัยของข้อมูล
นอกจากนี้
คีออท (Keough, 2005) ยังได้ระบุข้อด้อยที่สำคัญของเอ็มเลิร์นนิ่งอีกด้วยนั่นคือ
เอ็มเลิร์นนิ่งขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นการใช้เครื่อง
และการส่งสัญญาณ
สรุป
เอ็ม เลิร์นนิ่งกำลังก้าวเข้ามาเป็นการเรียนรู้คู่กับสังคมอย่างแท้จริง เนื่องจากความเป็นอิสระของเครือข่ายไร้สาย ที่สามารถเข้าถึงได้ทุกที่ ทุกเวลา อีกทั้งจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพาที่ใช้เป็นเครื่องมือนั้นมีจำนวน เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อย่างไรก็ดีสิ่งที่สำคัญยิ่งของเอ็มเลิร์นนิ่งนั้นอยู่ที่การเรียนรู้ และการมุ่งพัฒนาเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพได้อย่าง แท้จริง
เอ็ม เลิร์นนิ่งกำลังก้าวเข้ามาเป็นการเรียนรู้คู่กับสังคมอย่างแท้จริง เนื่องจากความเป็นอิสระของเครือข่ายไร้สาย ที่สามารถเข้าถึงได้ทุกที่ ทุกเวลา อีกทั้งจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพาที่ใช้เป็นเครื่องมือนั้นมีจำนวน เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อย่างไรก็ดีสิ่งที่สำคัญยิ่งของเอ็มเลิร์นนิ่งนั้นอยู่ที่การเรียนรู้ และการมุ่งพัฒนาเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพได้อย่าง แท้จริง
บรรณานุกรม
Geddes. (2006). Mobile learning in the 21st century: benefit for learners. Retrieved April 11, 2007, from http://knowledgetree.flexiblelearning.net.au/edition06/download/geddes.pdf
Geddes. (2006). Mobile learning in the 21st century: benefit for learners. Retrieved April 11, 2007, from http://knowledgetree.flexiblelearning.net.au/edition06/download/geddes.pdf
Greene, K. (2006, 14 June). Better Mobile Web Browsing. Retrieved 9
October, 2007, from http://www.technologyreview.com/read_article.aspx?id=16985
Keegan, D. (2006). The future of learning: From eLearning to
mLearning, Chapter 3. From eLearning to mLearning. Retrieved 13 Oct, 2006, from
http://learning.ericsson.net/mlearning2/project_one/thebook/chapter3.html
Keough, M. (2005, 25-28 October 2005). 7 reasons why mlearning
doesn’t work [electronic version]. Paper presented at the mLearn 2005 4th World
conference on mLearning, Mobile technology: The future of learning in your
hands, Cape Town, South Africa.
Miniwatts Marketing Group. (2008). World Internet Usage Statistics
News and Population Stats. Retrieved April 18, 2008, from http://www.internetworldstats.com/stats.htm
Miniwatts Marketing Group. (2007). Internet World Stats. Retrieved
April 10, 2007, from http://www.internetworldstats.com/blog.htm
Newman College Higher Education in Birmingham, U. (2006, March).
Benefits of m-learning. Retrieved April 10, 2007, from http://www.newman.ac.uk/Students_Websites/~b.k.bains/benefit.htm
Prensky, M. (2004). What Can You Learn From A Cell Phone? – Almost
Anything! Retrieved Oct 20, 2006, from http://www.marcprensky.com/writing/Prensky-What_Can_You_Learn_From_a_Cell_Phone-FINAL.pdf
Reuters. (2008). Global cellphone penetration reaches 50 pct.
Retrieved April 18, 2008, from http://investing.reuters.co.uk/news/articleinvesting.aspx?type=media&storyID=nL29172095
Ryu, H. (2007). The Status-quo of Mobile Learning. Retrieved April
11, 2007, from http://tur-www1.massey.ac.nz/~hryu/MobileLearning_v2.pdf
siamdic.com. (2007). mobile. Retrieved April 9, 2007, from http://siamdic.com
The Economist Intelligence Unit, & The IBM Institute for
Business Value. (2006). The 2006 e-readiness rankings. Retrieved Jan 24 2007,
from http://graphics.eiu.com/files/ad_pdfs/2006Ereadiness_Ranking_WP.pdf
Watson, H., & White, G. (2006). MLEARNING IN EDUCATION – A
SUMMARY. Retrieved 20 Feb, 2006, from http://www.educationau.edu.au/jahia/webdav/site/myjahiasite/shared/site/mLearning.pdf
ศูนย์ ปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ สถาบันคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง. (2548, 25 Sept). ม.รามฯ เปิดเรียนทางมือถือ. Retrieved Oct 20, 2006, from http://www.ctc.ru.ac.th/ctc3_news/ctcnews/index.php?op=shownews&code=114
เขียนโดย ดร. พูลศรี เวศย์อุฬาร Dr.Poonsri
Vate-U-Lan
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น