Game เพื่อการศึกษา
เมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมาเราคงได้ยินข่าวการมอบรางวัลโนเบลสาขา
เศรษฐศาสตร์ ประจำปี 2548 ให้กับ 2 นักเศรษฐศาสตร์ คือ
Thomas Schelling และ Robert Aumann ซึ่งเป็นผู้นำ
Game Theory มาใช้เพื่อทำความเข้าใจถึงสภาพของความขัดแย้ง
และความร่วมมือ ความสัมพันธ์ขององค์กร ความรู้ที่ได้ไม่ใช่ใช้เฉพาะสาขาเศรษฐศาสตร์เท่านั้น
แต่ความรู้ที่ได้สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับทางสังคมวิทยาด้านต่างๆ ได้อีกด้วย
ก่อนหน้านี้ในปี 1994 ได้มีการมอบรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ให้กับ
John Nash , John Harsanyi และ Reinhart Selten ที่ได้ศึกษาเรื่องของ Game Theory (ถ้ายังจำได้มีการสร้างภาพยนตร์ชีวิตของ
John Nash เรื่อง A Beautiful Mind)
ข่าวที่ปรากฏออกมาเรื่องของ Game
Theory ทำให้ผู้เขียนคิดถึงการใช้ Game Theory เพื่อประโยชน์ในด้านการศึกษา ซึ่งการใช้ Game Theory เพื่อการศึกษานั้นมีการศึกษากันมานานแล้ว แต่การใช้ Game Theory กับการศึกษามีความแตกต่างจากการใช้ในสาขาอื่นๆ ตรงที่วัตถุประสงค์ที่สำคัญในการใช้
Game Theory เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ซึ่งการที่ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้ได้นั้นไม่ใช่ใช้เฉพาะ
Game Theory แล้วผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้
แต่จำเป็นต้องมีการใช้หลายๆ ทฤษฎีมาใช้ร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นทฤษฎีการรับรู้
ทฤษฎีการสื่อสาร จิตวิทยาการศึกษา จิตวิทยาการเรียนรู้ เป็นต้น นั้นหมายความว่าก่อนการใช้เกมใดๆ
ในการเรียนการสอนจำเป็นต้องผ่านการออกแบบลักษณะของเกมโดยยึดตามหลักทฤษฎี ต่างๆ
ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเกมเพื่อการศึกษาจะต่างกับเกมในท้องตลาดทั่วไปตรงเกมในท้องตลาดที่วัตถุ
ประสงค์หลักเพื่อความเพลิดเพลิน สนุกสนาน แต่เกมการศึกษาเน้นส่วนของการเรียนรู้ของผู้เรียน
ดังนั้นเกมการศึกษาจึงเป็นเกมที่มีกระบวนการสร้างที่ซับซ้อนและใช้เวลามากใน การสร้างและพัฒนา
เพื่อที่จะสามารถสร้างสภาพของเกมตามหลักของ Game Theory และสร้างการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนได้
ปัจจุบันมีการสร้างเกมเพื่อการศึกษามากขึ้น
ซึ่งมีลักษณะคล้ายๆกันคือ การนำเนื้อหาที่ต้องการให้ผู้เรียน
เรียนนำเข้าไปแทรกในเกมต่างๆ แล้วให้ผู้เรียนได้เล่นเกมโดยเชื่อว่าความรู้หรือเนื้อหานั้นจะส่งผ่านไปยัง
ผู้เรียนได้ จนผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ในที่สุด โดยใช้เกมที่มีรูปแบบเดียวกันใช้สอนเนื้อหาที่ต่างกันเพื่อความง่ายในการ
สร้างและสะดวก ทำให้เกิดข้อสงสัยว่ารูปแบบเกมแบบเดียว สามารถใช้กับเนื้อหาที่แตกต่างกันได้จริงหรือ
ได้มีผู้ศึกษาลักษณะของเกม
โดยแบ่งจุดประสงค์ของการเรียนรู้กับรูปแบบเกมที่เหมาะสม ดังนี้ (เกมคอมพิวเตอร์)
จุดประสงค์การเรียน ลักษณะของเกม รูปแบบเกม
จุดประสงค์การเรียน ลักษณะของเกม รูปแบบเกม
1. ความจำ ความคงทนในการจำ ชุดของเนื้อหาและแบบประเมิน
เกมแบบฝึกหัด,Quiz, เกม Puzzle ต่างๆ
2. ทักษะ การกระทำ มีเรื่องของสถานการณ์และการกระทำ
การเลียนแบบ ผลป้อนกลับและมีตัวแปรด้านเวลา เกม Simulation ต่างๆ
เช่น เกมยิง, เกมขับรถ เป็นต้น
3. ประยุกต์ความคิดรวบยอดและกฎข้อบังคับต่างๆ
กฎและขั้นตอนวิธีการในการปฏิบัติ มีเงื่อนไขในการกระทำ เช่น เกมกีฬา,action
4. ตัดสินใจ การแก้ปัญหา เกมแบบเป็นเรื่องราว
สามารถแสดงผลการกระทำได้ในทันที Real Time เกมวางแผน,
เกมผจญภัย, เกมเล่าเรื่องราวแล้วให้เลือก(เกมภาษา)
5. การอยู่ร่วมกับสังคม เกมเกี่ยวกับการสื่อสาร การเล่าเรื่องแล้วมีทางเลือก เกมวางแผน, เกมเล่าเรื่องราวแล้วให้เลือก(เกมภาษา)
5. การอยู่ร่วมกับสังคม เกมเกี่ยวกับการสื่อสาร การเล่าเรื่องแล้วมีทางเลือก เกมวางแผน, เกมเล่าเรื่องราวแล้วให้เลือก(เกมภาษา)
จากตารางพบว่าจุดประสงค์การเรียนรู้ที่ต่างกัน
เกมที่ใช้ก็แตกต่างกันไปด้วย ผู้เขียนเชื่อว่าข้อมูลดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ในการเลือกออกแบบเกมที่เหมาะ
สมกับจุดประสงค์การเรียนรู้ที่ต้องการได้ และที่สำคัญทำให้ผู้เรียนรู้สึกสนุกไปพร้อมกับเกิดการเรียนรู้ได้จริงๆ
ตัวอย่างเกมเพื่อการศึกษา
http://www.nobelprize.org/educational/literature/golding/index.html
http://www.nobelprize.org/educational/chemistry/chiral/index.html
http://www.nobelprize.org/educational/medicine/bloodtypinggame/index.html
ตัวอย่างเกมเพื่อการศึกษา
http://www.nobelprize.org/educational/literature/golding/index.html
http://www.nobelprize.org/educational/chemistry/chiral/index.html
http://www.nobelprize.org/educational/medicine/bloodtypinggame/index.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น